เหตุผลที่แท้จริงของการทำการตลาดก็คือการค้นหาว่า จะทำอย่าไร จะผลิตหรือนำเสนอสินค้าอย่างไรให้ได้รับความนิยม สินค้าจึงต้องตรงกับความต้องการของลูกค้า นักการตลาดทั้งหลายจึงต้องรู้จักลูกค้าดีกว่าคนอื่น ทั้งนี้จะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ต้องรู้ความเป็นไปของสังคม ต้องรู้ค่านิยมของสังคม ต้องเข้าใจลูกค้าและต้องรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคด้วย
การรู้จักลูกค้าดีอย่างไร
ยิ่งถ้านักการตลาดรู้จักลูกค้าดีแค่ไหน ก็จะยิ่งเข้าใจความต้องการมากยิ่งขึ้น การตลาดที่ดีควรเริ่มต้นจาก “สำรวจลูกค้า” เป็นคำตอบง่ายๆแต่มีความสำคัญมาก เพราะเมื่อรู้จักลูกค้าแล้วการทำการตลาดจะบรรลุผลง่ายขึ้น เป้าหมายของการทำการตลาดก็คือลูกค้า ฉะนั้นสิ่งที่นักการตลาดต้องทำก็คือนำเสนอสินค้าออกไปให้ตรงใจลูกค้ามากที่สุด
การทำการตลาดต้องรู้อะไรจากลูกค้าบ้าง
1. ต้องรู้กลุ่มลูกค้า
“กลุ่มลูกค้าของเราคือใคร ?” หญิงหรือชาย อยู่ในช่วงวัยไหน ทำงานหรือเรียน พฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าเป็นอย่างไรส่วนมากจะพบเค้าได้ที่ไหน เช่นห้างสรรพสินค้า ลานกิจกรรม ตามตลาดนัด หรือสถานที่ท่องเที่ยว กลุ่มลูกค้านิยมใช้สื่อออนไลน์ประเภทใด เฟสบุ๊ค หรือ IG ชอบเข้าเว็บพันทิพหรือไม่ รสนิยมและความสนใจส่วนตัวเป็นอย่างไร สถานะทางสังคมเป็นอย่างไร เป็นต้น
หากเรารู้ว่ากลุ่มลูกค้าเราคือใคร จะสามารถทำการตลาดที่เหมาะสมกับสินค้าได้ดี และรู้ว่าจะทำโฆษณาที่ไหนได้บ้างถึงจะเข้าถึงลูกค้าได้ตรงจุด
2. Trend
แน่นอนว่าใครๆก็อยาก “อินเทรนด์” ไม่มีใครอยากให้คนอื่นมาว่าเชย หรือล้าสมัย ฉะนั้นสินค้าใด เรื่องราว หรือความต้องการใดที่กำลังเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงกันมาก นั่นแหละคือเทรนด์ที่เราจะจับมาทำการตลาดได้ อย่างเช่นกระแสคนรักสุขภาพทานอาหารคลีน การแต่งตัวสมัยนี้ที่ออกย้อนยุคกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เด็กผู้หญิงไม่นิยมแต่งตัวแบ้วๆ แต่ชอบใส่ยืดเสื้อตัวใหญ่ๆ กางเกงยีนส์หนาๆพับขา และรองเท้าผ้าใบ อะไรอย่างนี้เป็นต้น
3. แนวโน้มความต้องการสินค้าในอนาคต
สินค้าที่จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในอนาคตมีหลายรูปแบบ ซึ่งจะตอบโจทย์ทางด้านใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและการเลือกนำเสนอ แต่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ “การบริโภคของลูกค้าในปัจจุบัน” ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการกำหนดและสร้างแนวโน้มความต้องการสินค้าในอนาคตได้
ตัวอย่างเช่น สินค้าที่ต้องเป็นที่ยอมรับของสังคม สินค้ามีความแตกต่างแต่สามารถสะท้อนความเป็นตัวของตัวเองได้อย่างลงตัว เป็นสินค้าที่ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หรือทดแทนสิ่งที่ขาดหาย เป็นสินค้าที่สร้างความสุขทางใจเช่นของเล่นสมัยโบราณที่กลับมาให้เราได้คิดถึงอีกครั้ง เป็นสินค้าที่มีความปลอดภัย สร้างความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้าได้ เป็นต้น
4. วัฒนธรรม
วัฒนธรรม มีบทบาทในการกำหนดความต้องการของลูกค้า อาจจะดูไม่โดดเด่นนัก แต่วัฒนธรรมจะถูกแทรกซึมอยู่โดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรม ประเพณี การแต่งกาย ต่างก็มีอิทธิพลทั้งสิ้น การทำการตลาดที่ดีสามารถนำวัฒนธรรมมาประยุตร์ใช้ได้
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เมื่อสงกรานต์ที่ผ่านมานี้จะมีแฟชั่นเสื้อผ้าไทยๆออกมามากมายเช่นเสื้อคอกระเช้าที่ดัดแปลงให้ทันสมัยมีโบว์ด้านหลัง ผ้าขาวม้าที่นำมาตัดเป็นเสื้อคลุม กางเกง และอื่นๆ ถ้าหากเป็นเสื้อผ้าสมัยก่อนเพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้รับความสนใจ แต่เมื่อนำวัฒนธรรมมาผสมกับแฟชั่น กลับกลายเป็นความเก๋ไก๋ที่ลงตัว แถมสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ
5. สังคม
สังคมในเมืองจะแตกต่างจากสังคมต่างจังหวัด อย่างเช่นต่างจังหวัดไม่นิยมใส่กางเกงขาสั้น เพราะดูน่าเกลียด แต่ในเมืองถือเป็นเรื่องปกติที่ใส่ออกนอกบ้านได้สบาย ฉะนั้นจึงสอดคล้องกับการทำการตลาดที่ต้องรู้ “กลุ่มลูกค้า” เพราะถ้ากลุ่มลูกค้าของคุณอยู่ต่างจังหวัดก็จะต้องทำการตลาดให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย
6. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ
การเลือกสินค้าสักชิ้นย่อมมีบุคคลที่สามเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ อย่างเช่น ถ้าจะซื้อเครื่องสำอางต้องให้เพื่อนช่วยซื้อ ถ้าจะซื้อของใช้ในบ้านต้องเป็นแม่, พี่สาว, น้องสาว, หรือเพื่อนผู้หญิง เพราะจะเปรียบเทียบราคาได้ดีกว่า ถ้าจะซื้ออุปกรณ์ซ่อมแซมบ้านก็ต้องเป็นพ่อ ,พี่ชาย หรือหรือแฟนหนุ่มช่วยเลือกเพราะจะมีความรู้เรื่องงานช่วงมากกว่าอย่างนี้เป็นต้น
การทำการตลาดที่ได้ผลจึงต้องทำให้สินค้าถูกใจบุคคลที่สาม เพราะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ เป็นคนที่คอยให้แนะนำ และผู้บริโภคจะเชื่อบุคคลที่สามมากกว่านั่นเอง
“การตลาด” ก็คือการแข่งขันกันเอาใจผู้บริโภค สิ่งที่นักการตลาดต้องครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลาคือ ทำอย่างไรถ้าจะแก้ปัญหาให้ผู้บริโภคได้ ทำอย่างไรถึงจะสร้างความพอใจ จะบริการอย่างไรลูกค้าถึงจะประทับใจ ทำอย่างไรลูกค้าถึงจะจดจำเราและนึกถึงเราเป็นอันดับแรก อย่างไรก็ตามวิธีการทำการตลาด และสินค้าที่จะนำเสนอเข้าสู่ตลาดนั้นต้องเป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ ไม่เน้นผลประโยชน์ฝ่ายเดียว ไม่เอาเปรียบลูกค้ามากเกินไป จึงจะเป็นการทำการตลาดที่แท้จริง