5 ภาษาทำเงินในยุค AEC มีประเทศใด และภาษาใดบ้าง

0
3519

การเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ในยุคที่เรียกว่า การเข้าร่วมกลุ่มการค้า เศรษฐกิจ สังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งการรวมกลุ่มประเทศสมาชิกถูกเรียกกันในนามว่า AEC เพื่อผนึกกำลัง ความมั่นคงในเรื่องต่าง ๆ พร้อมทั้งขับเคลื่อนทุกภาคเศรษฐกิจ ภาคการลงทุน และภาคสังคมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยหยิบยกผ่านประเด็นต่าง ๆ รวมทั้งความร่วมมือในการสร้างความแข็งแรงในการต่อรอง การเจรจาในเรื่องการค้า การลงทุนกับกลุ่มประเทศต่าง ๆ

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบดังกล่าวนั้น ทำให้ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม AEC นั้นก็ต้องมีความตื่นตัว การเตรียมความพร้อม และการรับมือกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนเช่นเดียวกัน แน่นอนอยู่แล้วค่ะว่า การก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนนั้น ต่างก็มุ่งหวังเพื่อให้เกิดการค้า การลงทุนอย่างเสรีของกลุ่มประเทศสมาชิก ดังนั้น การเข้ามาทำงาน การเข้ามาลงทุนในภาคเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศต่าง ๆ ในไทย ก็อาจจะมีอัตราเพิ่มขึ้นนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาทำงาน การเข้ามาลงทุน

สิ่งหนึ่งสำคัญในการทำงานร่วมกัน คงหนีไม่พ้นเรื่องการสื่อสาร การติดต่อ การประสานงานกัน ผ่านความรู้ ความเข้าใจในด้านภาษา จึงทำให้ภาษาเข้ามามีบทบาทในการทำงานและการรวมกลุ่มเช่นเดียวกัน เมื่อภาษาเข้ามามีบทบาทดังนั้นการเรียนรู้ภาษาต่าง ๆ เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารก็คงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน

5 ภาษาที่น่าสนใจสำหรับการเปลี่ยนแปลงในยุค AEC

39

1. ภาษาอังกฤษ

หากกล่าวถึงการเรียนภาษาอังกฤษในปัจจุบันนั้น คงกลายเป็นเรื่องธรรมดาของกลุ่มคนรุ่นใหม่ เพราะตอนนี้การติดต่อสื่อสารในองค์กร การทำงานต่าง ๆ ก็ล้วนใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสาร และการทำงานทั้งนั้น เพราะสำหรับภาษาอังกฤษได้กลายเป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่อราชการ การทำงานในองค์กรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบริษัท เป็นองค์กรที่มีการทำงานร่วมกันของหลายชาติ หลายภาษา การใช้ภาษาอังกฤษก็คงเป็นช่องทางหนึ่งในการสื่อสารและสร้างความเข้าใจอันดีในองค์กร และใช้สำหรับติดต่อสื่อสารในการค้า การลงทุนในภูมิภาค AEC เช่นเดียวกันนั่นเอง ดังนั้นภาษาอังกฤษก็คงกลายเป็นภาษาสากลสำหรับการทำงานในปัจจุบัน

2. ภาษาเวียดนาม

ภาษาเวียดนามคงเป็นหนึ่งในภาษาที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันเช่นเดียวกัน เมื่อในหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นองค์กร โรงเรียน กลุ่มธุรกิจ ต่างก็ให้ความสนใจในการเรียน การสอนภาษาเวียดนามเป็นจำนวนมาก เพราะเวียดนามนับได้ว่าเป็นประเทศหน้าใหม่ในเรื่องเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนที่เข้ามามีบทบาทมากในปัจจุบัน และภาคเศรษฐกิจของเวียดนามก็มีอัตราการผลิต และการเติบโตของเศรษฐกิจก้าวไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต่าง ๆ ในประเทศ เวียดนามก็ได้ปรับบทบาทและขยายอัตราการผลิตในหลายภูมิภาคของประเทศ รวมไปถึงนักลงทุน นักธุรกิจจากหลายประเทศต่างก็ให้ความสนใจและเข้าไปลงทุนในประเทศเวียดนามเป็นจำนวนมาก จึงเห็นได้ว่าภาษาเวียดนามจึงเป็นหนึ่งในภาษาที่น่าสนใจในยุค 2016 นั่นเอง

3. ภาษาพม่า

เมื่อพม่ามีการเข้ามาเป็นตลาดสำคัญในเรื่องการทำงานในต่างประเทศ การทำงานในภาคธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการก้าวเข้ามามีบทบาทในเรื่องการทำงาน และมากไปกว่านั้นมีการเข้ามาทำงานในภาคธุรกิจของไทยเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการเข้ามาของคนพม่าเป็นจำนวนมาก ในภาคธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษา การสื่อสาร การติดต่อ อาจจะมีความจำเป็นที่ต้องใช้ภาษาพม่าเพื่อเป็นสื่อกลางในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการสื่อสารที่ตรงกันมากยิ่งขึ้น คนพม่าหลายคนที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยต่างเรียนรู้ ฝึกฝนและใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร ซึ่งหลายคนนั้นสามารถสื่อสารภาษาไทยและเข้าใจความหมายได้เป็นอย่างดี ดังนั้นคงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ที่คนไทยก็ควรจะเรียนรู้และศึกษาภาษาพม่า เพื่อสร้างความเข้าใจและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการขยายของภาคธุรกิจที่เข้าไปลงทุนเพิ่มมากขึ้นในพม่าเช่นเดียวกัน

4. ภาษามาเลเซีย อินโดนีเซีย

ภาษามาเลเซีย อินโดนีเซีย นับได้ว่าเป็นภาษาที่น่าสนใจทั้งในเรื่องการทำงาน การติดต่อสื่อสารและการลงทุน ทั้งนี้เนื่องมาจากการสร้างความเข้าใจอันดีในเรื่องภาษา วัฒนธรรม เพื่อประโยชน์ในการติดต่อ การเจรจาทางธุรกิจ เพราะกลุ่มประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซียนั้นต่างก็มีความน่าสนใจในการลงทุนมากเช่นเดียวกัน ทั้งเรื่องทรัพยากรทั้งทางธรรมชาติ และกลุ่มทรัพยากรบุคคล รวมไปถึงการเดินทางไปทำงานในกลุ่มประเทศดังกล่าวก็นับว่ามีความน่าสนใจในด้านนี้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีความเข้าใจผิดในเรื่องการใช้ภาษามลายูของกลุ่มคนที่นับถือศาสนามุสลิมในภาคใต้ว่าเป็นภาษามาเลเซีย อินโดนีเซีย แต่ภาษามาเลเซีย และภาษาอินโดนีเซียนั้นมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับภาษามลายูที่ใช้ในกลุ่มพี่น้องมุสลิมของประเทศไทย แต่อาจจะมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของคำศัพท์บางคำ เพราะมาจากรากของภาษาแบบเดียวกันนั่นเอง

20141218-4-hotnews

5. ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น

หลายคนอาจจะสงสัยว่าภาษาในกลุ่มประเทศสมาชิก AEC ไม่ได้มีประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม AEC แต่ทำไมภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่นจึงมีบทบาทและความสำคัญในการศึกษา เพราะในภาคเศรษฐกิจนั้น นับได้ว่าจีนและญี่ปุ่นก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในโลก ในส่วนที่เป็นทั้งภาคการลงทุนทางธุรกิจในกลุ่มสินค้าประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรม เกษตรกรรม ธุรกิจและบริการในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งได้มีการขยายตัวและเติบโตในกลุ่มสมาชิกของประเทศใน AEC ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วยนั่นเอง การเรียนภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารในองค์กร ในบริษัทก็นับได้ว่าเป็นใบเบิกทางและเพิ่มความสามารถของภาษาในการเข้าร่วมในองค์กรต่าง ๆ นั่นเองค่ะ

จะเห็นได้ว่าการเข้าร่วมในภาคประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยจำเป็นที่ต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้และศึกษาภาษา เพื่อใช้ในการเจรจาธุรกิจ การติดต่อค้าขาย และการทำงานในองค์กรต่าง ๆ ที่มีคนทำงานจากหลากหลายประเทศ การเรียนรู้ภาษานั้นก็เปรียบเสมือนการศึกษาและทำความเข้าใจในวิถีการดำเนินชีวิต ความเชื่อ วัฒนธรรมและเรื่องต่าง ๆ ของประเทศนั้น ๆ และเพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here